MAEJO UNIVERSITY PHRAE CAMPUS

มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ

ทำด้วยจิต คิดมุ่งมั่น ฝันเป็นเลิศ เทิดยุติธรรม นำเกียรติภูมิ

  • : ศตพล กัลยา
  • : 23 กรกฎาคม 2567

ม.แม่โจ้-แพร่ฯ จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 และนานาชาติ ครั้งที่ 2

วันศุกร์ ที่ 19 กรกฎาคม 2567 เวลา 9.00 น. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรดิ ได้จัดการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 และนานาชาติ ครั้งที่ 2 “การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน” (Research and Innovation Development to Drive Thailand’s Sustainable Economy) โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลพร ปานง่อม ผู้ช่วยคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ กล่าวรายงาน และ อาจารย์ ดร.ศุกรี อยู่สุข คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ เป็นประธานกล่าวเปิดงานในครั้งนี้ ณ ห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น 2 โรงแรมแพร่นครา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ การจัดการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 และนานาชาติ ครั้งที่ 2 (The 4rd National and The 2st International MJU-Phrae Conference) ภายใต้หัวข้อ “การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน” (Research and Innovation Development to Drive Thailand’s Sustainable Economy) การนำเสนอผลงานในงานประชุมวิชาการครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มด้วยกัน คือ กลุ่มที่ 1 เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตรและอาหาร กลุ่มที่ 2 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลุ่มที่ 3 บริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ และกลุ่มที่ 4 นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และสิ่งประดิษฐ์สร้างสรรค์ กลุ่มที่ 5 การนำเสนอระดับนานาชาติ โดยการประชุมวิชาการในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์การดำเนินโครงการ ดังนี้ เพื่อเป็นเวทีการนำเสนอและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ บทความ การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ แนวคิด และประสบการณ์ด้านการวิจัยของนักวิจัย อาจารย์ นักศึกษา นักเรียน และผู้สนใจทั่วไป เพื่อติดตามความก้าวหน้าการวิจัยทางด้านสังคม เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่สามารถนำไปประยุกต์ในการพัฒนาผลงานทางวิชาการให้เกิดความทันสมัยและเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจและจุดประกายความคิดของนักเรียนและนักศึกษาให้หันมาสนใจในการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะทางด้านวิชาการมากขึ้น เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างนักวิจัยในเครือข่ายงานลักษณะเดียวกัน เพื่อสรรค์สร้างงานวิจัยใหม่ๆ หรือการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างนักวิจัยกับภาคเอกชน เพื่อการต่อยอดงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ สำหรับผู้เข้าร่วมนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการในระดับชาติ ครั้งนี้ ประกอบด้วยนักวิจัย นักวิชาการ ครู นักศึกษา นักเรียน ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป รวมจำนวนทั้งสิ้น 120 คน แบ่งเป็น 1) ผู้เข้าร่วมนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการในระดับชาติ จำนวน 82 เรื่อง โดยมีภาคบรรยายจำนวน 38 เรื่อง และภาคโปสเตอร์ จำนวน 44 เรื่อง 2) ผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการในระดับนานาชาติ เป็นภาคบรรยาย จำนวน 17 เรื่อง และ 3) ผู้เข้ารอบการแข่งขันนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และสิ่งประดิษฐ์สร้างสรรค์ จำนวน 10 เรื่อง นอกจากนี้ยังมีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมงานจำนวน 11 คน การประชุมวิชาการครั้งนี้ยังได้รับเกียรติจาก Professor Eun Ha Choi, จาก มหาวิทยาลัย Kwangwoon ประเทศเกาหลี ในการบรรยายพิเศษ เรื่อง Plasma Technology and Innovation to Drive Thailand’s Sustainable Agriculture คุณพิมพ์ภิดา วิชญพิมพ์จุฬา จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติการบรรยายพิเศษ เรื่อง: การใช้ประโยชน์งานวิจัยทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของผู้ประกอบการ และ ศาสตราจารย์ ดร.ธีรวรรณ บุญญวรรณ จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บรรยายพิเศษ เรื่อง Green Technology and Innovation for Agriculture, Food, and Environment โดยมีผู้เข้าร่วมงานทั้งหมดประมาณ 300 คน

site map