MAEJO UNIVERSITY PHRAE CAMPUS

มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ

ทำด้วยจิต คิดมุ่งมั่น ฝันเป็นเลิศ เทิดยุติธรรม นำเกียรติภูมิ

  • : ศตพล กัลยา
  • : 20 กรกฎาคม 2565

"ปลูกป่า ปลูกเห็ด" เสริมสร้างคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม 2565 เวลา 9.00 น. นางสาวนิติยา พงษ์พานิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เป็นประธานเปิดงาน "ปลูกป่า ปลูกเห็ด" โครงการการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเห็ดไมคอร์ไรซา (เห็ดตับเต่า เห็ดเผาะเห็ดระโงก) และเห็ดตีนแรดเพื่อสร้างต้นแบบสวนป่าสวนเห็ดครัวเรือนเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน (ปีที่ 1) และการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเห็ดป่าไมคอร์ไรซาในสภาพพื้นที่ป่าและการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเห็ดระโงกในสภาพพื้นที่ไร่ แบบธรรมชาติ (ปีที่ 2) ณ ห้อง 104 สโลป อาคารเทพ พงษ์พานิช มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ตำบลแม่ทราย อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ โดยมี คุณสายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนา ด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย คุณวินัย ขาวมี ผู้แทนสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) อาจารย์ ดร.ศุกรี อยู่สุข คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ และพี่น้องเกษตรกร มาร่วมในพิธีเปิดกิจกรรม "ปลูกป่าปลูกเห็ด" "โครงการการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเห็ดไมคอร์ไรชา (เห็ดตับเต่า เห็ดเผาะ เห็ดระโงก) และเห็ดตีนแรด เพื่อสร้างต้นแบบสวนป่าสวนเห็ดครัวเรือนเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน (ปีที่ 1) และการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเห็ดป่าไมคอร์ไรซาในสภาพพื้นที่ป่าและการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเห็ดระโงกในสภาพพื้นที่ไร่แบบธรรมชาติ (ปีที่ 2)" ที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย หรือ วว. และหน่วยงานเครือข่าย ได้แก่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ สถานีวิจัยต้นน้ำน่าน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันจัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ในวันนี้เห็ดป่า หรือเห็ดไมคอร์ไรซาที่เจริญในดินที่สามารถเจริญอยู่ร่วมกับรากพืชในสักษนะที่พึ่งพาอาศัยกันโดยต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ (Mutualistic: symbiosis) โดยเห็ดราไมคอร์ไรซาเป็นกลุ่มเห็ดที่ออกดอกตามธรรมซาติ และสามารถหาพบได้เฉพาะฤดูกาลที่ฝนตกเท่านั้น เห็ดไมคอร์โรซาเกือบทุกชนิดยังไม่สามารถเพาะในระบบโรงเรือนใต้ ในขณะที่เห็ดกลุ่มนี้เนที่ต้องการในตลาดและมีมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาล โดยราคาของเห็ดระโงก เห็ดตะไคล เห็ดถ่าน เห็ดน้ำหมาก และเห็ดตับเต่า ราตากิโลกรัมละ 100-300 บาท เห็ดเผาะ ราคากิโลกรัมละ 100-600 บาท แต่เนื่องจากการให้ผลผลิตของเห็ดป่าในธรรมชาติยังไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมประกอบกับผลผลิตยังไม่มากพอ อีกทั้งในปัจจุบันยังขาดความรู้ความเข้าใจในการสร้างสวนบำสวนเห็ดในครัวเรือน หรือชุมชนเพื่อการผลิตดอกเห็ดที่จะก่อให้เกิดความมั่นคงของรายได้ อีกทั้งยังไม่สามาเรมสร้างความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจให้กับราษฎรและการใช้ทรัพยากรป่าไม้ยังไม่เป็นไปในรูปแบบในเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน การจัดงานในวันนี้ ถือเป็นการยืนยันถึงความตั้งใจของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ที่เห็นถึงความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา เพื่อให้เกษตรกรสามารนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ไปใช้ในการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม โดยเฉพาะความเป็นไปได้ในการผลิตเห็ดไมคอร์ไรซา โดยการสร้างสวนป่าสวนเห็ด สามารถผลิตไว้บริโภคและจำหน่ายได้ในอนาคต อีกทั้งเกษตรกรสามารถปลูกไม้มีค่า โดยใช้ระบบการปลูกแบบผสมผสาน (วนเกษตร) ระหว่างป่าไม้ เห็ดป่า และพืชเกษตร เป็นการใช้ประโยชน์พื้นที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการใช้สารเคมีปราบศัตรูพืช เพิ่มพื้นที่สีเขียว และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

site map